아시아태평양 지역의 관광 산업 회복: 지각 있는 여행자란?
Download WhitepaperSustainability
아시아태평양 지역의 관광 산업 회복: 지각 있는 여행자란?
Pratima Singh is a senior manager with Economist Impact’s Policy and insights team in Singapore. She works with foundations, corporates, governments and non-profits seeking evidence-based analysis and policy recommendations. At Economist Impact, Pratima leads several of the organisation’s global and Asia-focused sustainability-themed research programmes.
Pratima has worked with a number of organisations across the public and private sector including the National University of Singapore—where her research focused on economic and social policy issues—the Centre for Civil Society, the Asian Development Bank, and Frontier Strategy Group, where she supported senior executives at several large multinational companies build their Asia Pacific business strategies. She holds a Master’s degree in Economics from University College London (UCL) and a BSc Economics degree from the Singapore Management University.
More from this series
Related content
アジア太平洋地域 の観光業を再構築:コンシャストラベ ラーとは?
Membina semula pelancongan di Asia Pasifik: Pelancong yang lebih berkesedar...
การฟื้นฟูการท่องเที่ยวในเอเชียแปซิฟิก: มีนักท่องเที่ยวที่มีความใส่ใจรับผิดช...
โควิด-19 ได้เปลี่ยนแปลงการท่องเที่ยวในหลายทิศทาง ตั้งแต่การแพร่ระบาดของโรคที่ส่งผลเสียหายอย่างมากต่อชีวิตมนุษย์และสังคมได้เริ่มต้น นักท่องเที่ยวได้คิดใคร่ครวญถึงผลกระทบต่อวันหยุด พักผ่อนในชุมชน เศรษฐกิจในท้องถิ่น และสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น แม้ว่าจะมีการหยิบยกประเด็นนี้ มาพูดถึงเมื่อสองสามปีที่ผ่านมา แต่การแพร่ระบาดนี้ก็ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวด้านการเดินทางท่องเที่ยวที่หลากหลายและเร่งรัดการผลักดันไปสู่ การเดินทางท่องเที่ยวที่ใส่ใจและรับผิดชอบมากยิ่งขึ้นในเอเชียแปซิฟิก
จากการสำรวจโดย Economist Impact ที่สอบถามนักท่องเที่ยวมากกว่า 4,500 คนในภูมิภาค ทั้งในออสเตรเลีย ญี่ปุ่น อินเดีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน และไทย แสดงให้เห็นว่ามากกว่า 7 ใน 10 (71.8%) ของผู้ตอบแบบสำรวจเห็นด้วยว่าโควิด-19 ได้เปลี่ยนแนวความคิดของพวกเขาที่มีต่อการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนโดย ทำให้การท่องเที่ยวดังกล่าวมีความสำคัญต่อพวกเขามากขึ้น
ตัวเลขนี้เพิ่มสูงยิ่งขึ้นไปอีกในบางประเทศ โดยที่ผู้ตอบแบบสำรวจ 98.5% ในฟิลิปปินส์ 96.5% ใน อินเดีย และ 93.5% ในมาเลเซียกล่าวว่าการแพร่ระบาดได้เปลี่ยนแนวความคิดของพวกเขาที่มีต่อการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน อีกทั้งมากกว่าสี่ในห้ายังกล่าวถึงความจำเป็นที่จะต้องมีหลักปฏิบัติเกี่ยวกับการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนอีกด้วย
เป็นไปได้หรือไม่ว่าเรากำลังอยู่ในรุ่งอรุณของยุคแห่งการเดินทางท่องเที่ยวที่ใส่ใจรับผิดชอบมากขึ้น ผลการสำรวจของเราชี้ให้เห็นเช่นนั้น ผู้ตอบแบบสำรวจมากกว่าครึ่ง (57.1%) กล่าวว่าพวกเขามีมุมมองต่อการท่องเที่ยวแตกต่างออกไป รวมถึงวิธีที่จะทำให้การท่องเที่ยวมีความยั่งยืนอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เนื่องจากการท่องเที่ยวนี้ เกี่ยวโยงกับเศรษฐกิจในท้องถิ่น ชุมชน วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม
รายงานจาก Economist Impact ที่ได้รับการสนับสนุนโดย Airbnb ฉบับนี้ สำรวจการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยมุ่งศึกษาว่าการเดินทางท่องเที่ยวจะสามารถเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใดได้บ้างจากการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวที่มีความใส่ใจรับผิดชอบ รายงานนี้อิงตามการศึกษาค้นคว้าที่ครอบคลุมในวงกว้างและการสำรวจนักท่องเที่ยวมากกว่า 4,500 คนจากทั่วทั้งภูมิภาค รายงานฉบับนี้ เขียนโดย Siddharth Poddar และ เรียบเรียงโดย Pratima Singh
เราขอขอบคุณผู้มีส่วนสนับสนุนต่อไปนี้ที่ให้ข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติม
• Soity Banerjee นักเขียนอิสระเรื่องการท่องเที่ยวและบรรณาธิการโครงการจาก Outlook Responsible Tourism Initiative
• Gaurav Bhatnagar ผู้อำนวยการจาก The Folk Tales
• Rachel Dodds ผู้อำนวยการจาก Sustaining Tourism และศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัย Ryerson University
• Randy Durband ประธานเจ้าหน้าที่บริหารจาก Global Sustainable Tourism Council
• Philip Goh รองประธานประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจาก International Air Transport Association
• Freya Higgins-Desbiolles อาจารย์ภาควิชาการจัดการการท่องเที่ยวของมหาวิทยาลัย University of South Australia’s Business School
• Seul Ki Lee ผู้อำนวยการจาก LINC+ Project และรองศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัย Sejong University
• Liz Ortiguera ประธานเจ้าหน้าที่บริหารจาก Pacific Asia Travel Association